

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร รักษาอย่างไร คำแนะนำจากจักษุแพทย์
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพ ที่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก แต่จะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และความมั่นใจ เป็นอย่างมาก หลายคนจึงมีความสงสัย กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง มีวิธีการ รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อย่างไร ไปคลายข้อสงสัยกันเลย
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือภาวะของกล้ามเนื้อตาที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดมาจากการยืดตัวของกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถที่จะช่วยพยุงหนังตาของชั้นตาได้
อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง วิธีสังเกตุ

ลืมตาไม่ขึ้น
หากเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์จะสูญเสียความแข็งแรง จนส่งผลให้ลืมตาไม่ขึ้น
ลืมตาไม่เต็มที่ ตาปรือ ตาง่วงนอน
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ ตาปรือ ตาง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา เหมือนเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้น ดวงตาไม่สดใส
ปัญหาการเลิกคิ้ว
ปัญหาการเลิกคิ้ว อีกอาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตกทับตาดำบางส่วน จึงส่งผลให้การมองเห็นลดลง เกิดภาวะการเลิกคิ้ว เลิกหน้าผาก เอียงคอ เพื่อไปชดเชยภาวะเปลือกตาอ่อนแรงยกขึ้นได้ไม่เต็มที่
หนังตาตก
หนังตาตก อาการที่เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถสังเกตได้จากขอบตาบนจะมีการคลุมปิดตาดำมากกว่าปกติ
เบ้าตาลึกกว่าปกติ
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่เกิดจากไขมันเปลือกชั้นตาหายไป จะส่งผลให้มีเบ้าตาลึกกว่าปกติ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ดูโทรม ดูไม่สดใส ดูแก่ก่อนวัย
สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในปัจจุบัน ทำไมคนจึงเป็นกันมาก
เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด (Congenitial Ptosis)
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่เด็ก เกิดจากความผิดปกติของการทำงานกล้ามเนื้อ ที่ใช้สำหรับการลืมตา จึงทำให้การมองเห็นลดลง ส่งผลให้สายตาเอียงได้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคนผู้สูงอายุ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในผู้สูงอายุ เกิดจากความหย่อนคล้อย จากการใช้สายตาเป็นระยะเวลายาวนาน ความแข็งแรงของเปลือกตาค่อยๆจะลดลง ออกแรงได้น้อย จึงส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของวัยทำงานที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของวัยทำงาน ก็เป็นส่วนสำคัญ ยิ่งคนที่อยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน ไม่พักสายตา ทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า รวมถึงผู้ที่ขยี้ตาบ่อย และใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อตายืดออก และก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด
การผ่าตัดตาสองชั้นที่เกิดการผิดพลาดด้วยการผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา จะทำให้ดูตาปรือ และผ่าตัดโดยกระทบกล้ามเนื้อตาก็จะส่งผลต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
การหลั่งสารสื่อประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ (โรค MG)
การหลั่งสารสื่อประสาท ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตาผิดปกติ แต่ละเวลาจะมีอาการหนังตาตกไม่เท่ากัน อาการจะดีขึ้นได้เมื่อหลับตา หรือหลังตื่นนอนช่วงเช้า (หากเป็นยังไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดให้หายขาดได้ ต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยจากทางทีมแพทย์)
ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ระดับปกติ : ขอบตาด้านบน จะมีการปิดลงมาคลุมตาดำ แต่ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร
- ระดับอ่อนแรงเพียงเล็กน้อย : ขอบตาด้านบน จะมีการปิดลงมาคลุมตาดำประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร ทำให้ดวงตาไม่สดใส
- ระดับปานกลาง : ขอบตาด้านบน จะมีการปิดลงมาคลุมตาดำประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร ทำให้ตาปรือเหมือนคนง่วงนอน
- ระดับรุนแรง : ขอบตาด้านบนคลุมตาดำ ที่มากกว่า 4 มม ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น (ต้องเข้ารักษาผ่าตัดด่วน)
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหายเองได้ไหม จำเป็นที่จะต้องรักษาหรือไม่
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง บางกรณีที่เกิดจากพฤติกรรมบางอย่างไปกระตุ้นอาการที่ทำให้โรคกำเริบขึ้นมา จะสามารถเป็นแล้วหายเองได้ แต่บางกรณีที่เป็นแล้วไม่สามารถหาเองได้ จะทำให้มีผลกระทบที่น่าเป็นห่วง หากไม่รีบ แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาทิ ผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ผลกระทบต่อการมองเห็น และจะส่งผลให้ต้องเลิกหน้าผากเพื่อที่จะเพิ่มการมองเห็น เป็นต้น
วิธีแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- การบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำได้โดยการลอกตาขึ้นบน แล้วลงล่าง กรอกดวงตาไปทางขวา ไปทางซ้าย ทำวันละ 2 รอบ
- การปรับการโฟกัสของดวงตา ด้วยการใช้นิ้วมือยื่นไปทางด้านหน้าให้อยู่กึ่งกลางของดวงตาสองข้าง เลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ มองให้ชัดๆ ทำวันละ 3 ครั้ง ทำซ้ำประมาณ 20 รอบ
- การผ่าตัดช่วย รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แบบถาวร เพราะจะเป็นการช่วยปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาได้ดี หลังจากการผ่าตัด จะเปิดตาได้เต็มที่ หมดปัญหาตาปรือ ตาตก ทำให้ตาดูสดใสมากยิ่งขึ้น
รีวิวทำตาสองชั้นที่ชาน่าคลินิก


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ทำไมควร แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ร่วมกับการทำตาสองชั้น เพราะการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะผ่าตัดลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อของตา เพื่อที่จะปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา จึงจำเป็นต้องทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เพราะจะต้องมีการเปิดแผลจากการทำตาสองชั้นก่อน ซึ่งจะเป็นวิธีการช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่ขอบตาบนลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ มีลักษณะตาดูง่วงนอนตลอดเวลา ตาปรือๆ ตาลอย ตาขี้เกียจ เพื่อที่จะช่วยให้ตาดำเปิดชัดยิ่งขึ้น และดวงตากลมโตสดใส